โครงการสัมมนาวิชาการผู้ผ่านการประเมินเทียบระดับการศึกษา โดย กศน. เหนือคลอง, ลำทับ, อ่าวลึก และปลายพระยา


วันที่ 25 ก.ย. 2562 ณ โรงแรมโกลเด้นบีชรีสอร์ท อ่าวนาง จ.กระบี่ ดีเจสิมา (สิริมา  หิรัญรุจี) เป็นวิทยากรโครงการสัมมนาวิชาการผู้ผ่านการประเมินเทียบระดับการศึกษา ในหัวข้อ "การพัฒนาบุคลิกภาพและการพูดในที่ชุมชน" ซึ่งจัดโดย กศน. เหนือคลอง กศน.ลำทับ กศน.อ่าวลึก กศน ปลายพระยา


 บุคลิกภาพมีความสำคัญต่อการพูดในที่ชุมชน ซึ่งจะทำผู้ฟังรู้สึกประทับใจในตัวผู้พูด บุคลิกภาพในที่นี้ประกอบด้วยบุคลิกภาพใน ได้แก่ นิสัยใจคอ อารมณ์ ความรู้สึก ความรอบรู้ และบุคลิกภาพภายนอก ได้แก่ การแต่งกาย ทรงผม ท่าทางการเคลื่อนไหว การยืน และการนั่ง ดังนั้นผู้พูดจึงควรมีบุคลิกภาพที่ดีทั้งบุคลิกภายนอกและภายใน


บุคลิกภายนอกของผู้พูด

  • การแต่งกาย ผู้พูดควรแต่งกายให้เหมาะสมกับบุคลิกภาพของตนเอง กาลเทศะ และวัยตลอดจนควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาดและเหมาะสมกับผู้ฟัง
  • การใช้เสียง การพูดที่ดีผู้พูดต้องมีน้ำเสียงที่หลากหลาย และสอดคล้องกับเรื่องที่พูดมีระดับเสียงพอเหมาะที่ผู้ฟังจะได้ยินชัดเจน ใช้เสียงด้วยความนุ่มนวล แจ่มใส ไม่แหบเครอ ออกเสีงควบกล้ำได้ชัดเจน และหลีกเลี่ยงการใช้เสียงในระดับเดียวกันตลอดเวลาที่พูด
  • ภาษา ผู้พูดจะต้องมีความสามารถในการใช้ภาษาได้ดี เช่น ใช้ถ้อยคำที่หลากหลายใช้ภาษาที่มีความชัดเจน ซึ่งต้องอาศัยการค้นคว้า การฝึกฝน การอ่าน และการเรียยรู้จนมีความชำนาญตลอดจนควรใช้ภาษาพูดให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทยใช้ภาษาสนทนาที่สุภาพ หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาแสลงคำหยาบ ศัพท์วิชาการที่เข้าใจยากหรือภาษาต่างประเทศโดยไม่จำเป็น และใช้ภาษาให้เหมาะสมกับบุคคลหรือโอกาส
  • อากัปกิริยาท่าทางที่เหมาะสม จะช่วยสื่อความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้พูดได้มากขึ้น รวมทั้งช่วยเรียกร้องความสนใจจากผู้ฟังและช่วยผ่อนคลายความเคร่งเครียดของผู้พูด
  • การทรงตัว ผู้พูดต้องมีการทรงตัวที่ดีทั้งท่ายืนและท่าเดิน โดยควรยืนให้เท้าชิดกันทิ้งน้ำหนักตัวลงที่เท้าทั้งสอง ไม่ยืนเท้าโต๊ะแอ่นหรือเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ส่วนท่าเดิน เช่น การเดินขึ้นเวที การเดินในขณะพูด การเดินกลับมาที่เดิมต้องเดินตัวตรง ไม่เดินช้าหรือเร็วเกินไป เมื่อถึงเวทีหรือแท่นพูดควรหยุดสักครู่และกวาดสายตาให้ทั่วกลุ่มผู้ฟังจากนั้นจึ่งเริ่มการพูด
  • การใช้มือประกอบการพูด โดยปกติจะยกมือในระดับอกหรือหรือสูงกว่านั้น การใช้มือประกอบการพูดเป็นการใช้เพื่อเน้นให้ผู้ฟังประทับใจและจำได้ ซึ่งต้องใช้ให้ตรงความหมายที่พูดและไม่ใช้บ่อยจนเกินไป

About krabipress

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.

0 Comments :

แสดงความคิดเห็น