อว.จับมือ กกร.กลุ่มอันดามัน ประชุมระดมความคิดเห็น Focus group โครงการ "แผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนระดับภูมิภาค พ.ศ.2566-2570"(จังหวัดกระบี่)
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 เวลา 13.00-16.30 น.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)และคณะกรรมการร่วม
ภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) กลุ่มอันดามันจัดประชุมระดมสมอง Focus group โครงการ "แผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนระดัยภูมิภาค พ.ศ.2566-2570"(จังหวัดกระบี่) ณ ห้องประชุมเขาหลวง อาคารสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และประชุมทางไกลออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting
สืบเนื่องมาจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนระดับภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแผนยุทธศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจสำหรับภาคเอกชนในพื้นที่ให้มีทิศทางภารกิจและบทบาทไปในทางเดียวกัน และสอดคล้องกับแผนพัฒนาต่าง ๆ ในพื้นที่ ในส่วนของกลุ่มจังหวัดอันดามันได้กำหนดให้จังหวัดกระบี่เป็นพื้นที่นำร่องในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนระดับภูมิภาค พ.ศ.2566-2570 โดยมี นายวัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ ประธาน กกร.ภาคใต้ นายสลิน โตทับเที่ยง ประธาร กกร.กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน คณะกรรมการ กกร.จังหวัดกระบี่ จาก 3 สถาบันประกอบด้วย หอการค้าจังหวัดกระบี่ มีนายนัทที อดิสราลักษณ์ประธานหอการค้า จ.กระบี่ เป็นประธาน กกร.จ.กระบี่ นายเดชาธร ขอบุตร กรรมการเลขาธิการหอการค้า จ.กระบี่ เป็นเลขาธิการ กกร.จ.กระบี่ นายไพฑูรย์ ล่องเพ็ง ผู้จัดกรา หอการค้า จ.กระบี่ เป็นเลขานุการ กกร.จ.กระบี่ ในส่วนสภาอุตสาหกรรมจังหวัดกระบี่ มีนายสมนึก จันทวงศ์ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.กระบี่ เป็น ประธาน กกร.จ.กระบี่นายเจษฎา โชติวัฒนศักดิ์ เลขาธิการ สภาอุตสาหกรรม จ.กระบี่ เป็นเลขาธิการ กกร.จ.กระบี่ และมีนางสาวเกศสุดา ธนีมาศ ผู้จัดการ สภาอุตสาหกรรม จ.กระบี่ เป็นฝ่ายเลขานุการ และในส่วนสมาคมธนาคารไทย มีนายขจร ชุมแก้ว เป็นประธาน กกร.จังหวัด มีนางจินตนา ประเสริฐกุล เป็นเลขาธิการ กกร.จ.กระบี่ เข้าร่วมประชุมมี ผศ.ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดการประชุม
สำหรับประเด็นการพูดคุยครอบคลุมใน 4 ประเด็นของจังหวัดกระบี่ ประกอบด้วย ประเด็นด้าน วิสัยทัศน์ของพื้นที่,ศักยภาพและโอกาสของพื้นที่,ข้อจำกัดและประเด็นท้าทายในพื้นที่ และโครงการที่ภาคเอกชนต้องการให้เกิดขึ้นใน 5 ปี
วิสัยทัศน์แผนพัฒนา จ.กระบี่ ปี 2565-2570 : เมืองท่องเที่ยวคุณภาพระดับนานาชาติ เกษตรอุตสาหกรรมยั่งยืน สังคมน่าอยู่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปรับตัวเท่าทันต่อบริบทการเปลี่ยนแปลง
สำหรับข้อจำกัดและประเด็นท้าทายจากมุมมองของภาคเอกชน เช่น 1)การกำหนดสีการใช้ประโยชน์ในที่ดินของผังเมืองรวมในแนวถนนสายเพชรเกษมซึ่งเป็นถนนสายหลักที่กำหนดเป็นพื้นที่สีเขียว 2)กฎหมายที่ล้าหลัง ควรปรับเปลี่ยนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่ายั่งยืน 3)เส้นทางเชื่อมโยงคมนาคมจากจังหวัดต่างๆไปยังจังหวัดกระบี่ที่ต้องผ่านชุมชนเมืองทำให้การจราจรติดขัด ควรมีวงแหวรเชื่อมโยงรอบนอกที่ไม่ต้องเข้าสู่ตัวเมือง 4)ในอีก 3 ปี การขยายสนามบินจะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นถึง 12 ล้านคน จะส่งผลให้ภาคการเกษตรไม่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้จึงควรผลักดันให้มีการเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตรให้มีความยั่งยืน 5)การศึกษาระดับมหาวิทยาลัยไม่มีทำให้ขาดงานวิจัยหรืออาจารยฺที่สามารถพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆจึงควรมีศูนย์วิจัยระดับภาค 6)สินค้าราคาแพง การพัฒนาเมืองไม่สามารถพัฒนาได้เท่าที่ควร ค่าแรง ค่าวัสดุก่อสร้าง ต้นทุนสูง ที่ดินราคาสูงทำให้นักลงทุนไม่กล้าลงทุน
ในส่วนของโครงการที่ต้องการให้เกิดขึ้นใน 5 ปีข้างหน้า ของภาคเอกชน กกร. ได้เสนอหลายโครงการเช่น 1)โครงการคมนาคมวงแหวน 2)ตลาดปลาสด การประมูลปลา 3)ซาซิมิปลาอันดามัน 4)เกษตรมูลค่าสูง นางปาล์ม แพะ การเลี้ยงปลาในกระชัง การเพิ่มผลผลิตในสวนเกษตร ด้านปศุสัตว์ 5)ท่องเที่ยว go green ตาม BCG Model 6)กลุ่มจังหวัดอันดามันส่งเสิมเลี้ยงแพะ 7)กาแฟโรบัสต้า ที่สามารถผลิตได้เฉพาะใกลัเส้นศูนย์สูตร 8)คลองท่อมสปาน้ำร้อนเค็ม 9)การส่งเสริมท่องเที่ยว ความปลอดภัยด้านการรักษาพยาบาลด้วยความทันสมัย 10) มหาวิทยาลัยการกีฬาสอดรัยกัย Sport City ทั้งศักยภาพ บุคคลากร และสถานที่ 11) Culture ศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีการสนับสนุนกิจกรรมแนวศิลปวัฒนธรรมมากขึ้น 12)เกษตรแปรรูป น้ำมันปาล์มเป็นเครื่องสำอาง 13) อุตสาหกรรม Marina Hub ที่สามารถต่อยอดไปยังกลุ่มอันดามัน 14)การจัดกีฬาเรือยอร์ซระดับโลกในพื้นที่อันดามัน 15)โครงการรักษาลุ่มน้ำ กระบี่ยังไม่มีประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำที่ดีเพื่อใช้ในการอุปโภค บริโภคป้อนเมืองท่องเที่ยว
0 Comments :
แสดงความคิดเห็น